ครั้งแรกเมื่อเห็นภาพของ Next-Generation FORD Ranger มีความรู้สึกว่ายังยึดโครงสร้างตัวทั้งและแชสซีเดิมอยู่มากหน่อย แต่วันนี้เมื่อได้สัมผัสทำให้รู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปมากทีเดียว ฟอร์ดเองนับว่าเป็นผู้นำในกลุ่มของรถกระบะขนาดหนึ่งตันในเรื่องของความกล้าในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ก่อนใคร รวมถึงการตั้งราคารถกระบะที่ทะลุล้านไปไกลกว่าเพื่อน แต่ในคำว่าแพงนั้นมีหลายอย่างที่บอกเลยว่าคุ้มและไม่มีใครกล้าที่จะตาม ไม่ว่าจะเป็นการนำเครื่องยนต์ขนาด 3.2 ลิตร 200 แรงม้ามาใช้ก่อนใครถือว่าเป็นเครื่องบล็อกใหญ่แรงม้าเยอะ จากนั้นก็ลดความจุกระบอกสูบลงเหลือเพียง 2.0 ลิตร แต่นำระบบ Bi-Turbo มาใช้ก่อนใครแถมมีแรงม้าสูงกว่าเพื่อนคือ 213 แรงม้า รวมถึงการนำระบบความปลอดภัยและระบบช่วยการขับขี่ที่เหนือกว่ารถในกลุ่มเดียวกัน


FORD Ranger ในรหัส T6 เปิดตัวครั้งแรกในราวปี 2012 มาพร้อมแชสซีใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมมาก พร้อมกับเครื่องยนต์ 2 พิกัดคือ 3.2 ลิตร และ 2.2 ลิตร มีทั้งเกียรอัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา 6 สปีด ในส่วนของบอดี้นั้นมีการปรับโฉมใหญ่ 2 ครั้งด้วยกัน แต่ในเรื่องของแชสซีมีการปรับเล็กๆ น้อยๆ สำหรับ Next-Generation FORD Ranger ใหม่ บอดี้นับว่าเป็นการปรับโฉมครั้งที่ 3 มีความยาวสั้นลงกว่าเดิม 6 มม. กว้างกว่าเดิม 51 มม. และสูงขึ้น 36 มม. ความกว้าของตัวถังนั้นเห็นได้จากโป่งล้อหน้าและหลังที่โค้งนูนออกมาชัดเจนทำให้รถดูมีมิติมีส่วนเว้าโค้งที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในส่วนของแชสซีนั้นถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ส่วนแรกคือการขับแนวล้อหน้าให้เข้าไปให้แนวกันชนเพิ่มขึ้นอีก 50 มม. ทำให้ความยาวฐานล้อเพิ่มเป็น 3,270 มม. ขอดีในการลุยคือมุมปะทะ ( Approach ) ที่เพิ่มขึ้นจาก 28.5 องศา เป็น 30 องศา ทำให้ใต่มุมชันได้มากขึ้น และ มุมจาก ( Departure ) เพิ่มจาก 21 องศา เป็น 23 องศา ลดโอกาสกันชนท้ายครูดได้มากขึ้น ความสูงใต้ท้องเพิ่มจาก 230 มม. เป็น 235 มม. เพิ่มความสามารถในการลุยได้มากขึ้น

นอกเหนือจากตัวเลขมิติของตัวรถที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะในส่วนของแชสซีนั้น มีการปรับเปลี่ยนไปมากนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือการปรับปรุงแชสซีเป็นแบบ 3 ชิ้นที่ให้ตัวได้มากขึ้นในขณะที่การรับน้ำหนักยังทำได้เหมือนเดิม การให้ตัวของแชสซีในแต่ละส่วนนั้นมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน เหมือนกับโครงสร้างตัวถังโมโนค็อกในรถรุ่นใหม่ที่ใช้โลหะหลายชนิด เพื่อให้มีการให้ตัวที่ดีในทุกสภาวะการขับขี่บอกเลยว่าเห็นผลได้ชัดเจนมากทั้งออนโร้ดและออฟโร้ด สิ่งที่มีการปรับปรุงครั้งใหญ่คือช่วงล่างด้านหลังปรับแหนบใหม่ และขยับจุดยึดช็อคอับไปไหว้ด้านนอกของแชสซีพูดง่ายๆ คือเข้าไปใกล้ล้อมากขึ้น ช็อคอับเปลี่ยนมาใช้แบบ Mono-Tube พร้อมดิสก์เบรก 4 ล้อ รวมถึงจุดยึดช่วงล่างหลายๆ จุดทำให้การทรงตัวและการยึดเกาะถนนทำได้ดีมากขึ้น


ความรู้สึกของการออกแบบภายในห้องโดยสาร ให้ความรู้สึกหรูหราเรียบง่าย วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุผิวสัมผัสแบบนุ่มคุณภาพสูง มือเปิดประตูย้ายมาไว้ในช่องมือจับตรงท้าวแขนใช้งานสะดวกกว่าเดิมมาก เพราะสามารถเปิดและดันประตูออกได้พร้อมๆ กันด้วยมือเดียว คอนโซลหน้ากะทัดรัดกว่าเดิมทำให้บริเวณที่วางขาสำหรับผู้โดยสารตอนหน้ามีมากขึ้น โปร่งสบายไม่อึดอัดแม้ว่าต้องเดินทางไกลๆ หน้าจอแสดงผลเป็นดิจิตอลขนาด 8 นิ้ว แสดงผลได้ครบถ้วน โดยเฉพาะรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อหน้าจอนี้ช่วยได้มากในเรื่องการแสดงผลของออฟโร้ดมิเตอร์ ทั้งมุมเอียง มุมเงย รวมถึงองศาของล้อหน้า ช่วยได้มากเวลาวิ่งบนถนนที่เป็นโคลนหรือดินเละแบบหนังหมู เราจะหลงทิศทางของพวงมาลัยได้ง่ายทำให้การขับขี่เป็นเรื่องยากขึ้น หน้าจอกลางขนาด 12 นิ้ว รวมเอาระบบอินโฟเทนเมนท์ต่างๆ ครบครัน ทำงานร่วมกับแอปพลิเคชั่น FORD Pass สามารถเชื่อมต่อกับตัวรถได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อการสตาร์ทรถจากระยะไกล ปรับอุณภูมิรถก่อนเข้าสู่ห้องโดยสาร และแจ้งเตือนสถานภาพรถได้ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงการเชื่อมต่อการสื่อสารได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะการสั่งงานด้วยเสียงเชื่อมต่อกับ SYNC 4A


ในส่วนของการขับขี่นั้นบอกได้เลยว่าแตกต่างจากรุ่นที่ผ่านมาชัดเจนโดยเฉพาะในเรื่องของการทรงตัว และฟังก์ชั่นการทำงานของระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบต่างๆ ณ วันนี้เครื่องยนต์มีเพียงบล็อกเดียวคือ 2.0 ลิตร มี 2 รูปแบบคือ เป็นเครื่อง Bi-Turbo กับ เทอร์โบเดี่ยว ส่วนเกียร์มีให้เลือก 4 รูปแบบ เริ่มจากเกียร์อัตโนมัติ 10 สปีด, อัตโนมัติ 6 สปีด, เกียร์ธรรมดา 6 สปีด และ เกียร์ธรรมดา 5 สปีด รุ่นไวลด์แทรคเครื่องยนต์ Bi-Turbo 2.0 ลิตร จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 10 สปีด มีตัวเลือกทั้งแบบขับเคลื่อนสี่ล้อ และขับเคลื่อนสองล้อเป็นครั้งแรก ให้กำลัง 210 PS ที่ 3,750 รอบต่อนาที แรงบิด 500 นิวตันเมตร ที่ 1,750-2,000 รอบต่อนาที แรงม้าลดลงจากเดิม 3 แรงม้าเป็นผลในเรื่องของการปรับจูนในเรื่องของมลพิษ แต่บอกเลยไม่ได้รู้สึกถึงความแตกต่างในเรื่องของสมรรถนะ ในรุ่นสปอร์ต มาพร้อมเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบเดี่ยว 2.0 ลิตร จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ให้กำลัง 170 PS ที่ 3,500 รอบต่อนาทีและแรงบิด 405 นิวตันเมตร ที่ 1,750-2,500 รอบต่อนาที ในรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อจับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ในรุ่นขับเคลื่อนสองล้อมีทั้งเกียร์อัตโนมัติ และเกียร์ธรรมดา 6 สปีด
สำหรับรุ่นที่เราจะเอามาเล่าให้ฟัง คือ ไวลด์แทรคเครื่องยนต์ Bi-Turbo 2.0 ลิตร จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 10 สปีด เครื่องยนต์ถูกแก้ไขปัญหาเรื่องซีลเรื่องปัญหาต่างๆ แล้ว ในส่วนของเกียร์นั้นเปลี่ยนทอร์คคอนเวอร์เตอร์ใหม่ และขยายการรับประกันเป็น 5 ปี 150,000 กม. หลังจากออกตัวไปสักพักเรื่องของสมรรถนะอาจจะไม่รู้สึกต่างจากเดิม แต่สิ่งที่แตกต่างคือการตอบสนองของช่วงล่างที่รู้สึกได้ชัด โดยเฉพาะช่วงล่างด้านหลังในความเร็วต่ำบนถนนที่ขรุขระเต็มไปด้วยหลุมบ่อ การเก็บรายละเอียดของช่วงล่างทำได้ดีมากขึ้นมีความนุ่มนวลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีการปรับปรุงขนานใหญ่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อใช้ความเร็วสูงขึ้นในทางตรงอาจจะรู้สึกว่าด้านหลังนุ่มกว่าที่เคยแรกๆ อาจจะรู้สึกว่ามันโคลง แต่พอเริ่มชินจะรู้สึกว่าเวลาวิ่งตัวเปล่ามันไม่กระด้างกระเทือนเหมือนรถกระบะที่เราคุ้นเคย ในจังหวะเข้าโค้งยิ่งรู้สึกได้ถึงการยึดเกาะที่นุ่มหนึบเกาะเป็นตุ๊กแก ถ้าเปลี่ยนยางที่ยึดเกาะได้ดีกว่านี้จะทำให้ประสิทธิ์ภาพการเกาะถนนสูงมากขึ้น ระบบเบรกเป็นดิสก์เบรกสี่ล้อมีการปรับจูนการตอบสนองที่นุ่มนวลสั่งได้ตามใจ และส่งผลให้การทำงานของระบบช่วยเหลือต่างๆ ทำได้รวดเร็วแม่นยำมากยิ่งขึ้น ฟิลลิ่งการตอบสนองของช่วงล่างคล้ายๆ กับรุ่น FX4 Max ที่ใช้ช็อคอับของ Fox ในย่านความเร็วสูงตอบสนองได้ดีอีกเหตุผลหนึ่งคือเรื่องของการพัฒนาแชสซีใหม่แบบสามชิ้นที่ให้ตัวได้ดีขึ้นไม่แข็งทื่อแบบชิ้นเดียว รวมถึงการทดสอบเทคโนโลยีช่วยในการขับขี่อย่างระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ พร้อมระบบ Stop & Go และระบบควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง (Adaptive Cruise Control with Stop-and-Go and Lane Centering) ที่ช่วยให้การเดินทางสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การทำงานของระบบช่วยต่างๆ มีการทำงานที่ละเอียด มีการเตือนไม่พร่ำเพื่อจนน่ารำคาญระบบช่วยเหลือต่างๆ ทำงานได้สมูทไม่ทำให้ตกใจและทำงานได้แม่นยำ เพราะในวันที่เราเดินทางฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนักหน่วง
ไฮไลท์ในรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อคือระบบขับเคลื่อนที่ใกล้เคียงกับแรพเตอร์ การเพิ่มโหมดการขับขี่ในรูปแบบขับเคลื่อนสี่ล้อนั้นจัดมาเต็มกว่าใครในคลาส ซึ่งมันจะช่วยให้มือใหม่หรือผู้ที่นานๆ เข้าเส้นทางธรรมชาติสักครั้ง สามารถขับขี่ได้ง่ายขึ้นเพียงแค่มองให้ออกว่าเส้นทางด้านหน้าเป็นอย่างไร แล้วเลือกโหมดให้เหมาะสมตัวรถจะทำการปรับทั้งการส่งกำลัง ตำแหน่งเกียร์ หรือ แม้แต่ระบบช่วยเหลือต่างๆ ให้ทำงานอย่างเหมาะสมในโหมดนั้นๆ ทำให้การขับขี่ผ่านอุปสรรค์เป็นไปอย่างง่ายดาย

- สถานีที่ 1 เนินชัน ‘Hill Maneuvering’ โดยใช้โหมดการขับขี่ปกติ (Normal mode) คู่กับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ (4L) รวมถึงทดสอบความโดดเด่นของสมรรถนะช่วงล่าง และการไต่ลงเนินชันด้วยระบบควบคุมความเร็วขณะลงเขา (Hill Descent Control) ที่ช่วยปรับความดันเบรกอย่างต่อเนื่องนุ่มนวล
- สถานีที่ 2 การขับผ่านแอ่งน้ำ ‘Water Wading’ ด้วยความสามารถในการลุยน้ำลึกได้สูงสุดถึง 800 มิลลิเมตร โดยในสถานีที่ 1 และ 2 จะได้ใช้กล้องมองรอบคัน 360 องศา เพื่อช่วยมองอุปสรรคที่อยู่นอกตัวรถระหว่างการขับขี่ได้อย่างชัดเจนบนหน้าจอขนาด 12 นิ้ว สามารถเลือกมุมมองได้หลากหลายและที่สำคัญในวันที่เราทดสอบฝนตกหนักกล้องช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ได้มาก
- สถานีที่ 3 การขับขี่บนถนนลื่น (Slippery Track) โดยระบบจะช่วยกระจายแรงบิดของเครื่องยนต์ไปยังทั้ง 4 ล้อเพิ่มความมั่นใจในการขับขี่บนถนนลื่นหรือพื้นถนนที่ไม่สม่ำเสมอ ระบบจะปล่อยให้สามารถใช้รอบเครื่องยนต์ขณะที่ล้อมีการลื่นไถล โดยระบบแทรคชั่นคอนโทรลยังไม่เข้ามาแทรกแซง เพราะผิวถนนเป็นดินเละลื่นที่คอออฟโร้ดเรียกว่าดินหนังหมู
- สถานีที่ 4 ทางโคลน (Mud Track) เป็นการขับขี่ด้วยโหมดโคลน (Mud Mode) โดยใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ (4H) เมื่อเลือกโหมดนี้ฟังก์ชั่นการทำงานของ ของระบบล็อกเฟืองท้าย (Locking rear differential) จะติดขึ้นมาโดยอัตโนมัติบนหน้าจอกลาง พร้อมให้เราใช้งานตลอดเวลา
- เข้าสู่สถานีที่ 5 พื้นกรวด ‘Loose Surface’ ด้วยการปรับโหมดการขับขี่กลับสู่โหมดการขับขี่บนถนนลื่น (Slippery mode) เพื่อทดสอบการขับขี่บนพื้นผิวถนนที่เป็นทางหินกรวด เพื่อควบคุมกำลังของเครื่องยนต์และตำแหน่งเกียร์ที่เหมาะสม
- สถานีที่ 6 ทางหิน ‘Rocky Terrain’ สื่อมวลชนใช้โหมดการขับขี่ปกติ (Normal mode) พร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ (4L) และระบบล็อกเฟืองท้าย (Locking rear differential) เพื่อทดสอบแรงบิดของเครื่องยนต์ในรอบต่ำ
- สถานีที่ 7 โหมดทราย (Sand mode) ระบบจะควบคุมตำแหน่งเกียร์ รอบเครื่องยนต์ให้เหมาะสมเพราะถ้าล้อมีการหมุนด้วยแรงมากเกินไปมันจะเป็นการขุดทรายทำให้ล้อจมลึก โหมดนี้จะทำให้การขับขี่ทำได้ง่ายมากขึ้น
- สถานีที่ 8 ทางออฟโรด (Off-Road Maneuvering) ใช้โหมดปกติ (Normal mode) พร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ (4H) ให้สัมผัสถึงการควบคุมพวงมาลัย การทรงตัวของรถ และความทรงพลังของเครื่องยนต์ แรงบิดและอัตราทดเกียร์ที่คอยปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมอย่างรวดเร็ว
ใน FORD Ranger Wildtrak 4X4 กับค่าตัว 1,299,000 บาท เพิ่มเติมจากรุ่นเดิมราว 34,000 บาท แต่ได้ประสิทธิ์ภาพในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงระบบช่วยเหลือการขับขี่ที่เพิ่มขึ้นมาก ถ้าสายออฟโร้ดถือว่าสุดจัดในรุ่นทั้งสมรรถนะและประสิทธิ์ภาพการขับขี่ยังไม่รับรวมกับฟังก์ชั่นการใช้งานบนพื้นที่ในกระบะท้าย ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างหลากหลายรวมถึงช่องต่อไฟฟ้าสำหรับการทำงานหรือแม้แต่การแคมป์ปิ้ง